วัสดุธรรมชาติที่นำมาใช้ทำบรรจุภัณฑ์ได้มีดังนี้
- วัสดุธรรมชาติประเภทเส้นใย เช่นกล้วย หวาย เตยปาหนัน กก กระจูด ผักตยชวา หญ้าแฝก หญ้าสามเหลี่ยม เถาวัลย์ ย่าลิเภา ปอสา ป่านศรนารายณ์ โดยวัสดุเหล่านี้บางชนิดต้องนำมาแปรสภาพก่อนเช่น ผักตบชวา เตยปาหนัน กระจูด กล้วย ต้องนำมาตากแห้ง ฟอกขาว อบกำมะถัน ฟั่นเกลียวก่อนสานขึ้นรูปเป็นตะกร้าใส่สินค้า ส่วนเส้นใยไหม ฝ้ายต้องนำมาทอก่อนแล้วจึงนำไปตัดเย็บเป็นถุงผ้า
- วัสดุธรรมชาติที่แปรรูปเป็นแผ่นและรูปทรงต่าง ๆ เช่น กระดาษแปปรรูปมาจากเยื่อไม้ไม้ยูคาลิปตัสหรือต้นสา นำมาประดิษฐ์เป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทถุงกระดาษ กล่องกระดาษ กระป๋องกระดาษ
กระดาษเป็นวัสดุที่นิยมนำมาประดิษฐ์เป็นบรรจุภัณฑ์มากที่สุดเพราะออกแบบเป็นหีบห่อได้หลายรูปแบบ ตัดและพับได้ง่าย มีความคงรูป น้ำหนัดเบา สามารถพิมพ์สัสันได้สวยงามนอกจากนี้ยังมีราคาถูกสามารถแปรรูปนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ทำลายได้ง่ายและปรับปรุงคุรภาพให้เหมาะสมกับการใช้งานได้หลายรูปแบบ เช่น เคลือบพลาสติกหรือเคลือบไขพร้อมป้องกันความชื้นประกบกระดาษกับแผ่นฟิล์ม พลาสติกหรือแผ่นเปลวอลูมิเนียมเพื่อป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำ อากาศ และกลิ่น
กระดาษที่นิยมนำมาประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์ชนิดต่าง ๆมี 2 ประเภทดังนี้ - กระดาษคราฟต์หรือกระดาษเหนียวสีน้ำตาล นิยมนำมาประดิษฐ์เป็นถุงกระดาษษที่มีความเหนียวหลายชั้น หรือนำมาแปรรูปเป็กระดาษลูกฟุก เพื่อใช้ทำกล่องกระดาษลูกฟูกซึ่งบรรจุภัณฑ์ประเภทถุงหรือกล่องสามารถใช้เป็นสื่อโฆษณาชื่อผลิตภัณฑ์หรือชื่อผู้ผลิตได้อีกด้วย
- กระดาษแข็ง นิยมนำมาประดิษฐ์เป็นกล่องกระดาษแข็ง ทั้งแบบกล่องกระดาษแข็งพับได้และกล่องกระดาษแข็งแบบคงรูป
- วัสดุธรรมชาติประเภทไม้ ส่วนใหย่นิยมนำมาทำบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง เช่น กล่องใส่ขนมอบ สุรา เบียรื เครื่องปั้นดดินเผา แก้ว ส่วนไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ นำมาจักเป็นเส้นเล็ก ๆ แล้วสานขึ้นรูปเป้นชะลอม กระจาด เข่ง หรือกล่องขนาดต่าง ๆ บรรจุสินค้าหรือผลิคภัณฑ์ประเภทอาหาร
การออกแบบบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ
โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์โดยทั่วไปจะแบ่งชื้นของบรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้มหรือปกปิดตัวสินค้าไว้ 3 ชั้นดังนี้ - บรรจุภัณฑ์ชั้นใน วี่งอยู่ชิดกับตัวสินค้า
- บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สอง ซึ่งห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ชั้นใน
- บรรจุภัณฑ์ชั้นนอก ซึ่งรวบรวมสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเพื่อการขนส่ง
การออกแบบบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติต้องออกแบบ 2 ส่วนด้วยกันคือ การออกแบบดครงสร้างบรรจุภัณฑ์ทั้ง 3 ชั้น และการออกแบบกราฟิกหรือภาพบนบรรจุภัณฑ์โดยมีข้อคำนึงถึงดังนี้ - บรรจุภัณฑ์ควรมีเอกลักษณ์โดดเด่นและสื่อความหมายได้ โดยต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ และความรู้ทางศิลปะเกี่ยวกับสี รูปทรง ความสมดุลย์ ผิวสัมผัส และขนาดของภาพหรือตัวอักษรมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อให้บรรจุภัณฑ์แตกต่างจากที่เคยมีมา และดึงดูดใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อ รวมถึงมีความสอดคล้องกับชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ด้านใน(ให้นักเรียนดูตัวอย่างรูปภาพในหนังสือแบบเรียน หน้า 66-67)
1.1 บรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้ที่มีภาพพิมพ์แสดงถึงผลไม้ที่นำมาผลิตเป็นน้ำผลไม้สื่อให้เห็นถึงความสด น่าดื่ม
1.2 บรรจุภัณฑ์ของสบู่ไข่ ทำจากกระดาษมีรูปทรงและผิวสัมผัสหยาบเหมือนถาดใส่ไข่จึงมีความหมายว่าผลิตภัณฑ์ด้านในมีรูปร่างเหมือนไข่ - บรรจุภัณฑ์ควรสะดวกต่อการใช้งานและแข็งแรงทนทาน โดยโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ต้องสมส่วน มีรูปทรงกะทัดรัด สะดวกต่อการจัดเรียงซ้อนกันและขนส่ง รอรับน้ำหนักได้ ทนทานต่อแรงกระแทก น้ำหนักเหมาะสมกับตัวผลิตภัณฑ์ มีหูจับถือในบางผลิตภัณฑ์(ดูต้วอย่างในหนัวสือหน้า 66)
2.1 บรรจุภัณฑ์สำหรับใส่ดินสอทำจากกระดาษแข็งมีดครงสร้างสมส่วน รูปทรงกระทัดรัดสะดวกต่อการเรียงซ้อนกันและสะดวกต่อการขนส่ง
2.2 บรรจุภัณฑ์ขนมอบ ทำจากกระดาษแข็ง มีหูจับสะดวกต่อการจับถือและเคลื่อนย้าย - บรรจุภัณฑ์ควรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือย่อยสลายได้ง่าย ทำลายได้ง่าย ไม่ก่อให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอย และไม่ก่อให้เกิดมลพิษซึ่งแนวทางในการสร้างบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสามารถปกิบัติได้ดังนี้
3.1 ใช้วัสดุธรรมชาติในการบรรจุภัณฑ์ เพราะย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
3.2 ลดส่วนประกอบที่เกินความจำเป็นในการบรรจุภัณฑ์ เช่นบรรจุภัณฑ์หลายชิ้น ลดการใช้โบ เชือก ป้ายห้อย
3.3 ลดความหนาและความสูงของบรรจุภัณฑ์และออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ให้ใช้วัสดุน้อยที่สุด
3.4 นำวัสดุธรรมชาติเช่น กระดาษ ไม้ ผ้า เครื่องปั้นดินเผา และวัสดุสังเคราะห์ เช่น พลาสติกบางชนิด ซึ่งสามารถนำมาดัดแปลงไช้ซ้ำหรือแปรรูปกลับมาใช้ใหม่มาประดิษฐ์เป็ยบรรจุภัณฑ์เพื่อลดปริมาณขยะลดค่าใช้จ่ายในการหำจัดหลังใช้งานและป้องกันการเกิดมลพิษการเผาไหม้หรือฝังกลบ